รับปริญญาเพื่อน

ชาติของผู้เยี่ยมชมบล็อก

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิศวกรกับโลกยุคใหม่

http://youtu.be/XNeRYiGmdXw

ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร2

กว่าจะเป็นวิศวะกรhttp://youtu.be/QUPQwOCxRPM

ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร

http://youtu.be/FIV7xTKNg10

การเป็นวิศวกร

          วิศวกร ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหา และควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบ และผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมโทร คมนาคม วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเซรามิก วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมธรณี ฯลฯ

          กฎหมายไทย (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 และ 4 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505) กำหนดให้วิศวกรในบางสาขาจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หรือที่รู้จักกันว่า ‘ใบ กว.’ เพื่อการประกอบอาชีพด้วย ได้แก่ สาขาโยธา เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อุตสาหการ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม และเคมี ใบประกอบวิชาวิศวกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1. ภาคีวิศวกร 2. สามัญวิศวกร 3. วุฒิวิศวกร มีสถาบันการศึกษาหลายสถาบันได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตร ‘วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต’ ทำให้โอกาสทางการศึกษาทางด้านวิศวกรรมมีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สถาบันการศึกษาเหล่านั้นก็จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของการศึกษาด้วยความเอาใจใส่เพื่อคุณภาพของ ‘บัณฑิตวิศวกรรม’

            การเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์จะใช้เวลาเรียน 4 ปี โดยในชั้นปีที่ 1 จะเป็นการเรียนปรับพื้นฐานในสายวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์เพิ่มเติม เพื่อจะนำไปใช้ในการคำนวณด้านวิศวกรรมศาสตร์ในชั้นปีต่อ ๆ ไป และที่สำคัญจะได้เรียนวิชาพื้นฐานทางวิศว กรรม คือวิชา Drawing หรือวิชาเขียนแบบ ซึ่งถือว่าเป็นวิชาเริ่มต้นของการเป็นวิศวกรในทุกสาขา และวิชาการช่างที่นักศึกษาปีที่ 1 ทุกคนต้องได้ลงมือเลื่อย ตะไบ กลึง เจาะ เพื่อเรียนรู้วิชาการช่างกันจริง ๆ เมื่อเรียนวิชาพื้นฐานจนครบแล้ว ในชั้นปีที่ 2 และ 3 จะเป็นการเรียนลึกลงไปในวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ มากขึ้น เช่น วิศวกรรมโยธา จะต้องเรียนวิชาที่เกี่ยวกับการก่อสร้างทั้งหมด วิศวกรรมอุตสาหการ จะเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น แต่การเรียนวิศวกรรมศาสตร์นั้นจะต้องเน้นการเรียนในภาคปฏิบัติให้เข้มข้น เพื่อให้ว่าที่วิศวกรทั้งหลายได้เข้าใจในทุกกระบวนการในการทำงานจริง และก่อนที่นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์จะขึ้นเรียนในชั้นปีสุดท้ายนั้น นักศึกษาทุกคนจะได้ฝึกงานตามสาขาที่ได้เรียนมาในสถานที่ทำงานจริง ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกใช้ชีวิตการทำงาน การรับผิดชอบ และต้องตื่นเช้าเข้าทำงานร่วมกับพนักงานคนอื่น ๆ และในการเรียนชั้นปี 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย ถือว่าเป็นการเรียนที่นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ทุกคนจะต้องนำความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด 3 ปี มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำมาพัฒนาเป็นโครงงานที่ทำให้ใช้งานและเกิดประโยชน์ได้จริง จึงจะถือว่าการเรียนวิศวกรรมศาสตร์นั้นประสบความสำเร็จ แต่ในชีวิตจริงแล้วการเป็นวิศวกรนั้นจะต้องพบเจอกับปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง และสิ่งสำคัญในการเป็นวิศวกรนอกจากมีความรู้ความสามารถแล้วจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

          คุณสมบัติข้อแรกที่วิศวกรที่ดีควรมีคือ ความสามารถในการสื่อสาร (Communication skill) เนื่องจากวิศวกรต้องทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น มักจะมีทั้งผู้ร่วมงาน เจ้านาย และลูกน้อง หากวิศวกรคนใดไม่สามารถพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจได้ หรือนำเสนองาน หรือไอเดียให้คนอื่นเข้าใจและเห็นด้วยตามเหตุผลแล้ว ความรู้ที่วิศวกรคนนั้นมีก็อาจจะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากนัก


          คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งที่เกี่ยวข้องและใกล้เคียงกับข้อแรกคือ ทักษะภาษาอังกฤษ (English skill) เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทระดับนานาชาติได้เข้ามาลงทุนและตั้งในประเทศไทย หรือคนไทยก็สามารถร่วมงานกับบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้ผ่านการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เป็นต้น เพราะฉะนั้นวิศวกรคนไหนที่มีความสามารถและทักษะภาษาอังกฤษก็สามารถที่จะทำงานในบริษัทระดับนานาชาติได้ดี อีกทั้งสามารถแสวงหาความรู้มากมายในภาษาอังกฤษ

          คุณสมบัติข้อต่อไปที่สำคัญมากคือ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม (Team Working skill) โปรเจกต์ส่วนใหญ่ที่วิศวกรต้องดำเนินงานจนแล้วเสร็จนั้นต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ซึ่งวิศวกรที่ดีควรจะเป็นได้ทั้งผู้นำที่ดีและผู้ตามที่ดีได้ สามารถจะทำงานร่วมกับผู้อื่นจนงานสำเร็จ และมีความสุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่น


          คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งที่สำคัญที่ต้องมีคือ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning skill) วิศวกรที่ดีจะต้องมีความสามารถในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้วยตนเอง ไม่ควรจะรอให้ผู้อื่นมาให้การอบรมหรือสอนให้อย่างเดียว เพราะเทคโนโลยีต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุด หากวิศวกรคนใดรอคนอื่นสอนก็จะไม่สามารถนำเทคโน โลยีนั้นมาประยุกต์ใช้งานได้ทันการณ์


          คุณสมบัติอีกประการหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าข้ออื่นคือ ความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem Solving skill) เป็นธรรมดาเมื่อเราทำงานย่อมมีปัญหา แต่ว่าวิศวกรที่ดีต้องสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หรือร่วมมือกับผู้อื่นที่มีความสามารถจนร่วมกันแก้ปัญหาได้ ซึ่งความสามารถในการแก้ปัญหาต้องอาศัยความรู้ การคิดวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา การตั้งสมมติฐานที่ดีที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้

เป็นวิศวกรมืออาชีพ..เป็นอย่างไง ?


เป็นวิศวกรมืออาชีพ..เป็นอย่างไง ?


          วันเสาร์ที่ผ่านมา ผมไปเป็นวิทยากร หลักสูตร “How to Work Like a Pro” ให้บริษัทก่อสร้างสัญชาติญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง  มีลูกศิษย์ 30 คน เป็นวิศวกรผู้ชาย 28  คน อีก 2 คนเป็นผู้หญิงทำงานด้านอื่น

          ช่วงเช้าผู้บริหารชาวญี่ปุ่น มากล่าวเปิดการอบรม และร่วมสังเกตการณ์ด้วย

 

ท่านบอกผู้เข้าอบรมว่าอยากให้ทุกคน Work like a Pro ทำงานเป็นมืออาชีพมากขึ้น  อยากเห็นความเป็นผู้นำของทุกคน  มากกว่าเดิม ผลงานปีนี้เป็นไปตามเป้าหมาย  และก็หวังว่าปีหน้าซึ่งเป็นปีที่ tough หรือ ยากลำบากกว่าเดิม ทุกคนคงจะช่วยกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายเหมือนในปีนี้


ตอนหนึ่ง ผู้บริหารบอกว่า ผู้เข้าอบรมรุ่นนี้ได้รับการคัดเลือก (selected)  มาเข้าอบรม เพราะองค์กรมองว่าเป็นผู้ที่มีศักยภาพพัฒนาได้

 และกล่าวต่อไปว่า บริษัทยินดีลงทุนจัดอบรมสัมมนาเพื่อให้ทุกคนเก่งขึ้น เป็นมืออาชีพ แต่ผู้บริหารก็คาดหวังผลลัพธ์ (Result) นั่นคือเมื่อฝึกอบรมไปแล้วต้องนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงหัฒนาการทำงานของตัวเองให้ดีขึ้น ต้องการให้เกิดผล หรือปฏิกริยาจากการฝึกอบรม (Reaction)

ในแง่ผู้บริหารก็ได้ Action แล้วด้วยการจัดฝึกอบรมพัฒนาให้ หน้าที่ของผู้เข้าอบรมก็คือ ต้อง Reaction ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีด้วย   

ครั้งนี้ผมดีใจและสนุกมากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิศกร ซึ่งถือว่าเป็นคนเก่ง ความรู้และประสบการณ์ดีแต่ละคนมีประสบการณ์ทำงานมาในวงการก่อสร้างกันมาพอสมควร
 
*

ผมให้ทุกคนยึดหลักการทำงานอย่างมืออาชีพ แบบ อีดาว หรือ E-STAR ซึ่งประกอบด้วย

Ethics ต้องทำงานอย่างมีจรรยาบรรณ โปร่งใส และยุติธรรมกับทุกฝ่าย 

Self-leadership & management  มีภาวะผู้นำและจัดการงานด้วยตัวเองได้ไม่ต้องรอคำสั่ง 

Teamwork  ทำงานป็นทีม ช่วยกันคิดช่วยกันทำ แบ่งปันความรู้ซึ่งกันละกัน

Attitude & ability มีทัศนคติที่ดีและสามารถในการทำงานของตน และสุดท้ายคือ

Result ต้องมีผลงานตามที่ตกลงกัน มืออาชีพวัดกันที่ผลงาน  

ผมย้ำว่าทุกองค์กรต้องการคนที่มีผลงาน หรือ deliver ผลงานออกมาได้ ไม่ใช่เก่งแต่คิด  คิดแล้วทำไม่ได้ก้ไม่ใช่มืออาชีพ 

ผมได้พูดถึง ALIVE หนังที่สร้างจากเรื่องจริง ให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นว่าคนอย่าง นันโด้ที่คิดเชิงบวก และลงมือทำอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน จริงจังมุ่งมั่น  ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค  สามารถเอาชีวิตรอดมาได้ราวกับปาฏิหาริย์จากเหตุการณืเครื่องบนตกบนเทือกเขาแอนดิส

รวมทั้งตัวอย่างของคุณอดุลย์ ดุลยรัตน์ ที่มีความเป็นมืออาชีพ รับแสดงบทท่านครู สอนตีระนาด ในภาพยนตร์เรื่องโ หมโรง  ทั้งที่ ๆ ในชีวิตเขาไม่เคยตีระนาดมาก่อน  แต่เมื่อรับงานมาแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบ และแสดงความเป็นมืออาชีพออกมาให้เห็น ทำงานได้ตามที่รับปากไว้  จนได้รับตุ๊กตาทองในที่สุด


จากนั้นผมได้เพิ่มเติมเนื้อหาเรื่องการสื่อสาร  เพราะส่วนมากวิศวกรเป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถในเชิงเทคนิคอยู่แล้ว  ผมเพียงแต่เสริมให้เห็นว่าความเก่งอย่างเดียวช่วยให้เป็นมืออาชีพไม่ได้ถ้าพูดจาสื่อสารแล้วคนอื่นหรือคนที่ทำงานด้วยไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง
*
 

อีกทั้งต้องการชี้ให้เห็นว่า คนเก่งหลาย ๆ คนมักจะเชื่อในความคิดของตัวเอง ยึดติดกับความคิดเดิม ยึดตามประสบการณ์ของตน  จนไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของคนอื่น


เรื่องของการสื่อสารนี้ ผมได้ให้ลูกศิษย์ทำแบบฝึกหัดแก้โจทย์ปัญหาเป็นทีม แบ่งเป็น 5 ทีม ด้วยความอยากรู้ว่าวิศวกรจะมีวิธีคิด และวิธีการสื่อสารให้ผู้ฟังเข้าใจและยอมรับได้ดีขนาดไหน  ผลที่ออกมา คือทุกทีมสามารถหาคำตอบออกมาได้เหมือนกัน เพราะแน่นอนวิศวกรเหมือนกันย่อมคิดเหมือนกัน

แต่ถึงแม้คำตอบออกมาเหมือนกัน ก็ใช่ว่าจะทำสื่อสารให้คนอื่นเชื่อ หรือยอมรับได้ 100 %  

ความสามารถในการสื่อสารเรื่องเดียวกัน คำตอบเดียวกัน ของตัวแทนแต่ละทีม ออกมาไม่เหมือนกัน บางคนสื่อสารแล้วคนอื่นเชื่อและยอมรับ ได้คะแนนสูงถึง 80 %

   

บางคนนำเสนอแล้วเพื่อน ๆ งง  ไม่ประทับใจ ได้รับคะแนนโหวต 50 – 60 % ทั้ง ๆ ที่เป็นวิศวกรที่เก่งหรือทำงานได้เหมือนกัน  นี่แหละครับทักษะการสื่อสารที่มืออาชีพทุกคนต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ผมสรุปว่าคำตอบอาจมีได้มากกว่า 1 คำตอบ เพราะคนเราแต่ละคนเป็นมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน หัวใจสำคัญของการสื่อสารก็คือ ทำความเข้าใจผู้รับสาร (Receiver) ให้แน่ใจก่อนว่า เขามีวีคิดอย่างไร มีสไตล์การสื่อสารแบบไหน แล้วผูสื่อสาร (Sender) เราจึงค่อยสื่อสาร  แล้วเขาก็จะเข้าใจและยอมรับสิ่งที่เราสื่อแน่นอน

ไม่ใช่สื่อสารในสิ่งที่เราคิดว่าถุกว่าใช่ โดยลืมนึกถึงพื้นฐานความคิดและจิตใจของผู้รับสาร

หลังจากนั้นผมได้สอนเรื่องปัญหาการสื่อสาร ที่เกิดจากสไตล์การสื่อสารของผู้สื่อ และผู้รับที่แตกต่างกัน เราจึงควรปรับสไตล์การสื่อสารของเราให้เหมาะสมกับผู้รับแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่ม  บางครั้งเราก็ต้องใช้สไตล์การสื่อสารที่หลากหลาย ผสมผสานกันไป เนื่องจากกลุ่มผู้ฟังเองก็มีสไตล์ที่ต่างกัน 
 

กิจกรรมสุดท้ายก่อนจากกันผมได้ให้แต่ละทีม  เล่นเกม จราจรอัจฉริยะ แข่งขันกันเป็นทีม เพื่อชี้ให้เห็นว่า ผลงานที่ดี จะเกิดจากการทำงานเป็นทีมที่ดีเท่านั้น  ตัวชี้วัดความสามารถในการทำงานเป็นทีม ดูได้จากผลลัพธ์

 

ผมให้แข่งขันเกมจราจรอัจฉริยะ 2 รอบ ๆ แรก ส่วนใหญ่ทุกทีมจะใช้เวลาเกินเป้าหมายที่กำหนดให้ มีบางทีมที่ทำได้ตามเวลา แต่เป็นการทำงานแบบฟลุ้ค ๆ  ไม่ได้เกิดจากความสามารถ เพราะถ้าให้ทำใหม่ก็ไม่แน่ใจว่าจะทำได้ดีเหมือนเดิมหรือไม่


วันนั้นทีมชนะเลิศในรอบที่สอง สามารถทำงานเสร็จได้ตามเป้าหมายภายเวลาเพียง 38 วินาที ทั้ง ๆ ที่ในรอบแรกใช้เวลามากกว่า 300  วินาทีด้วยซ้ำ    ทำงานเป็นทีมได้ดีกว่าทีมอื่น ๆ จึงได้รับรางวัลเป็นเงินสดไปแบ่งกัน

ผมก็หวังว่าลูกศิษย์รุ่นนี้  จะทำงานเป็นมืออาชีพแบบ E-STAR   

คิดและมองเชิงบวกมากขึ้น  เตรียมพร้อมและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา 

เข้าใจบทบาทของตัวเองในฐานะลูกจ้างมืออาชีพ เข้าใจองค์กร เข้าใจธุรกิจ 

         ถ้าองค์กรอยู่ไม่ได้ เราก็อยู่ไม่ได้  ฉะนั้นทุกคนจึงต้องร่วมมือกัน  ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ทำงานเป็นทีม  แล้วเราทุกคนก็จะรอดครับ 
 
 
 
 
http://youtu.be/FIV7xTKNg10
http://youtu.be/FIV7xTKNg10

การที่จะเป็น วิศวะที่ดี




หลายคนที่อยากเป็นวิศวกร อาจคิดว่า ถ้าหากเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์และจบด้วยเกรดเฉลี่ยสูงแล้ว ก็จะเป็นวิศวกรที่ดีได้เลย จริงๆ แล้วการเป็นวิศวกรที่ดีนั้น ต้องอาศัยมากกว่าความรู้ที่ได้เรียนมาในมหาวิทยาลัย

คุณสมบัติข้อแรกที่วิศวกรที่ดีควรมีคือ ความสามารถในการสื่อสาร (communication skill) เนื่องจากวิศวกรต้องทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น มักจะมีทั้งผู้ร่วมงาน เจ้านาย และลูกน้อง หากวิศวกรคนใดไม่สามารถพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจได้ หรือนำเสนองานหรือไอเดียให้คนอื่นเ้ข้าใจและเห็นด้วยตามเหตุผลแล้ว ความรู้ที่วิศวกรคนนั้นมีก็อาจจะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากนัก

คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งที่เกี่ยวข้องและใกล้เคียงกับข้อแรกคือ ทักษะภาษาอังกฤษ (English skill) เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทระดับนานาชาติได้เข้ามาลงทุนและตั้งในประเทศไทย หรือคนไทยก็สามารถร่วมงานกับบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้ผ่านการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นต้น เพราะฉะนั้นวิศวกรคนไหนที่มีความสามารถและทักษะภาษาอังกฤษก็สามารถที่จะทำงานในบริษัทระัดับนานาชาิติได้ดี อีกทั้งสามารถแสวงหาความรู้มากมายในภาษาอังกฤษ

คุณสมบัติข้อต่อไปที่สำคัญมากคือ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม (Team Working skill)
โปรเจกต์ส่วนใหญ่ที่วิศวกรต้องดำเนินงานจนแล้วเสร็จนั้นต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ซึ่งวิศวกรที่ดีควรจะเป็นได้ทั้งผู้นำที่ดีและผู้ตามที่ดีได้ สามารถจะำทำงานร่วมกับผู้อื่นจนงานสำเร็จ และมีความสุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

คุณสมบัติีอีกข้อหนึ่งที่สำคัญที่ต้องมีคือ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning skill) วิศวกรที่ดีจะต้องมีความสามารถในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้วยตนเอง ไม่ควรจะรอให้ผู้อื่นมาให้การอบรมหรือสอนให้อย่างเดียว เพราะเทคโนโลยีต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุด หากวิศวกรคนใดรอคนอื่นสอน ก็จะไม่สามารถนำเทคโนโลยนั้นมาประยุกต์ใช้งานได้ทันการ


คุณสมบัติอีกประการหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าข้ออื่นคือ ความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem Solving skill) เป็นธรรมดาเมื่อเราทำงาน ย่อมมีปัญหา แต่ว่าวิศวกรที่ดีต้องสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หรือร่วมมือกับผู้อื่นที่มีความสามารถจนร่วมกันแก้ปัญหาได้ ซึ่งความสามารถในการแก้ปัญหา ต้องอาศัยความรู้ การคิดวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา การตั้งสมมุติฐานที่ดีที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ฺำฺBeing a Better Enginer