บทที่ 1 ทำความรู้จักกับ SolidWorks
การออกแบบและเขียนแบบเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งขึ้นมา ดังนั้น การเลือกใช้งานซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนแบบและออกแบบเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง และหนึ่งในโปรแกรมสำหรับการออกแบบและเขียนแบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบันนี้ก็คือ SolidWorks
- รู้จักกับโปรแกรม SolidWorks
- หลักการง่ายๆ ของการทำงานบนโปรแกรม SolidWorks
- คำศัพท์ทั่วไปของโปรแกรม SolidWorks ที่ควรทราบก่อนเริ่มต้นใช้งาน
บทที่ 2 พื้นฐานการออกแบบโดยโปรแกรม SolidWorks
ก่อนที่จะเริ่มต้นเรียนรู้การทำงานทั้งหมด เราจะมาทำความเข้าใจกับกระบวนการทำงานขั้นพื้นฐานของ SolidWorks เสียก่อน ซึ่งการศึกษาการทำงานพื้นฐานให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถใช้โปรแกรมเพื่อการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
- แนวคิดในการเขียนแบบและออกแบบโดยใช้โปรแกรม SolidWorks
- การออกแบบทำได้ด้วยการสเก็ตช์พื้นผิว 2 มิติ แล้วทำกวาดเนื้องานให้เป็น 3 มิติ
- โปรแกรม SolidWorks สามารถสร้างงาน 3 มิติโดยการเติมและการตัดออกของเนื้องาน
- เทอม (Terminology) และคำศัพท์ที่สำคัญในการใช้งานโปรแกรม SolidWorks
- ส่วนประกอบที่ควรทำความเข้าใจ
- เรียนรู้และเข้าใจการใช้ Sketch Snaps
บทที่ 3 การสร้างชิ้นงานเบื้องต้น (Parts)
จุดเริ่มต้นของการเขียนแบบและออกแบบ ก็คือการสร้างชิ้นงานเบื้องต้นที่เรียกว่า Part ขึ้นมาก่อน ซึ่ง Part จะเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่จะถูกนำมาประกอบรวมกันกลายเป็นชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนขึ้น และถูกนำไปใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา
- การเปิดโปรแกรม (Start Program)
- การสร้างชิ้นงาน (Part) ใหม่
- การตั้งค่าหน่วยที่ใช้งานให้เป็นมิลลิเมตร
- การสเก็ตช์ภาพ (Sketch)
- การเขียนแบบสี่เหลี่ยม (Rectangle)
- การกำหนดขนาดและการเปลี่ยนขนาด (Dimension)
- การเพิ่มเนื้อของชิ้นงาน (Extrude)
- การสเก็ตช์ภาพของแกนทรงกระบอก (Boss)
- การสร้างรูทะลุโดยการตัด (Cut)
- การเจาะรูให้ทะลุ โดยใช้คำสั่ง Extrude Cut
- การลบเหลี่ยมและมุม โดยใช้คำสั่ง Fillet
- การทำชิ้นงานให้เป็นแผ่นบาง โดยใช้คำสั่ง Shell
- การบันทึกไฟล์ชิ้นงาน (Save)
- การเปลี่ยนขนาดของชิ้นงาน
- การแสดงภาพตัด Section
- การซูม การหมุน การย้าย และการแสดงภาพชิ้นงานลักษณะต่างๆ
- การใช้ตารางออกแบบช่วยแก้ไขชิ้นงาน
- ฝึกสร้างชิ้นงาน และเรียนรู้การใช้คำสั่ง
บทที่ 4 การประกอบชิ้นงาน (Assembly)
ชิ้นส่วนย่อยๆ ที่ถูกเรียกว่า Part หลายชิ้นจะถูกนำมาประกอบเป็นชิ้นงานชิ้นเดียวกัน ซึ่งการนำ Part มาประกอบกันนั้นจะถูกเรียกว่าขั้นตอน Assembly และขั้นตอนการประกอบจะสำเร็จลุล่วงได้ต้องอาศัยการออกแบบ Part ที่มีความสัมพันธ์กัน และสามารถประกอบเข้ากันได้ด้วย
- เริ่มต้นการสร้างชิ้นงานใหม่
- การสร้างขอบของชิ้นงาน (Lip)
- การเปลี่ยนสีของชิ้นงาน (Edit Color)
- การประกอบชิ้นงาน
- การกำหนดความสัมพันธ์เพื่อประกอบชิ้นงาน
- เรียนรู้และเข้าใจหลักการของงานประกอบ
บทที่ 5 การสร้างภาพเขียนแบบฉาย (Drawing)
โปรแกรม SolidWorks จะมีความสามารถในการช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเขียนแบบภาพฉายได้ง่ายกว่าเดิม ซึ่งหลังจากการเขียนแบบภาพฉายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานก็จะสามารถตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของชิ้นงานได้อย่างละเอียด ซึ่งจะสัมพันธ์กับความถูกต้องของการออกแบบ Part และขั้นตอน Assembly ด้วย
- การแก้ไข Sheet Format
- การสร้างภาพเขียนแบบฉายของชิ้นงาน Box
- การใส่ขนาดในภาพแบบฉาย
- การแก้ไขขนาดของชิ้นงาน
- การแทรก Name View หรือการแทรกภาพฉาย 3 มิติ
- การพิมพ์ภาพเขียนแบบฉาย (Print)
- การบันทึกภาพเขียนแบบฉาย (Save)
- การใช้คำสั่งช่วยกำหนดขนาด (Annotations)
บทที่ 6 การสร้าง Circular Pattern
ผลิตภัณฑ์บางชนิดจะมีลักษณะการทำงานอยู่รอบแกนหมุน ซึ่งในบางครั้งผู้ออกแบบจะต้องสร้างรายละเอียดบางส่วนที่เหมือนๆ กันรอบแกนหมุน โดยขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้จะทำได้ง่ายขึ้นโดยการใช้สูตรคำนวณบนโปรแกรม SolidWorks ซึ่งจะช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถสร้างชิ้นงานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก็ไม่ก่อให้ผู้ออกแบบต้องคำนวณตำแหน่งหรือขนาดใดๆ ด้วยตัวเองอีก
- การสร้างชิ้นส่วน Base และการสร้างลักษณะที่จะทำ Pattern
- การสร้าง Circular Pattern โดยการกำหนดแกนหมุน
- การสร้าง Circular Pattern โดยการใช้สมการ
- การทดสอบสมการที่เขียนขึ้น
- การใช้คำสั่งและการสร้างงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
บทที่ 7 การสร้างสำเนา ด้วยคำสั่ง Linear Pattern
นอกจากการสร้างส่วนประกอบที่เหมือนกันรอบแกนหมุนแล้ว ในบางครั้งผู้ใช้ก็จำเป็นต้องสร้างส่วนประกอบที่เหมือนกันบนระนาบเดียวกันด้วย ซึ่งโปรแกรม SolidWorks ก็ยังคงมีคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำสำเนาหรือสร้างส่วนประกอบที่เหมือนกันบนระนาบเดียวกันได้โดยมีขั้นตอนเพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ซึ่งจะให้ผลที่ถูกต้อง แม่นยำกว่าการสร้างชิ้นงานซ้ำๆ กันด้วยตัวเองอีกด้วย
- การสร้างชิ้นงาน Base
- การสร้างรูเจาะและช่องระบายความร้อนโดยวิธี Linear Pattern
- การสร้างชิ้นงานที่มีความซับซ้อนและเรียนรู้การใช้คำสั่งเพิ่มเติม
บทที่ 8 การสร้างระนาบ Plane
การออกแบบผลิตภัณฑ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งขึ้นมานั้น อาจจะมีส่วนประกอบต่างๆ ที่ซับซ้อน และถูกจัดวางต่อกันอยู่ในระนาบที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนการออกแบบชิ้นงานที่ซับซ้อน ผู้ออกแบบจึงต้องใช้จินตนาการและทำความเข้าใจกับชิ้นงานที่ต้องการออกแบบเสียก่อน ว่าต้องการให้มีส่วนประกอบส่วนใดอยู่ในระนาบใด ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะไม่สามารถสร้างชิ้นงานนั้นออกมาได้อย่างสมบูรณ์อย่างแน่นอน
- วิธีการสร้าง Plane
- เรียนรู้การสร้างงาน (Part) โดยใช้คำสั่ง Plane
บทที่ 9 การสร้างชิ้นงาน โดยใช้คำสั่ง Loft
เมื่อทำความเข้าใจกับระนาบของวัตถุเป็นอย่างดีแล้ว นักออกแบบก็จะสามารถสร้างวัตถุที่มีความซับซ้อน และมีมุมมองจากหลายระนาบได้อย่างถูกต้อง แต่ในบางครั้งการสร้างวัตถุต่างๆ เหล่านี้อาจไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ง่ายๆ โดยใช้คำสั่งทั่วไป ดังนั้นการประยุกต์คำสั่งบางอย่าง เช่น Loft เพื่อการสร้างเนื้อวัตถุขึ้นมา ก็จะทำให้การสร้างชิ้นงานสามารถสำเร็จลุล่วงได้ง่ายขึ้น
- การสร้างระนาบอ้างอิง โดยใช้คำสั่ง Plane
- การสร้างเส้นขอบรูป
- วิธีการคัดลองเส้นสเก็ตช์
- วิธีการสร้างชิ้นงานด้วยคำสั่ง Loft
- การสร้างความเข้าใจการใช้ระนาบและคำสั่ง Loft ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
บทที่ 10 การสร้างชิ้นงานด้วยการหมุนและการกวาด
วัตถุที่รูปทรงสมมาตรกัน มีส่วนโค้งเว้า ตามการออกแบบของนักออกแบบ ผู้ออกแบบและนักเขียนแบบทั้งหลาย สามารถใช้คำสั่งในการสร้างวัตถุเหล่านั้นขึ้นมา โดยใช้หลักการหมุนและกวาด ของเส้นสเก็ตช์รอบแกนหมุนที่กำหนดขึ้น เพื่อให้เกิดการเติมเนื้อชิ้นงาน ทำให้ชิ้นงานที่ได้จะมีลักษณะสมมาตรกัน ทั้งยังสามารถใช้คำสั่งเพื่อสร้างชิ้นงานที่มีลักษณะซับซ้อนขึ้นมาได้ โดยการใช้คำสั่งประกอบกัน
- การสร้าง Profile และกำหนดขนาดชิ้นงาน
- การสร้างชิ้นงานโดยการหมุน Revolve Boss/Base
- การสร้าง Profile เพื่อสร้างชิ้นส่วนโดยการกวาด Swept Boss/Base
- การสร้างหน้าตัดชิ้นงานสำหรับการกวาดชิ้นงาน
- สร้างชิ้นส่วนโดยการกวาดหน้าตัดชิ้นงาน Swept Boss/Base
- การตัดเนื้องาน
- การลบมุมขอบชิ้นงาน Fillet
- การเรียนรู้การใช้คำสั่งในการสร้างชิ้นงานที่มีลักษณะเฉพาะ
บทที่ 11 การกวาดเพื่อตัดชิ้นงานและการสร้างสปริง
การสร้างวัตถุที่ลักษณะรูปทรงที่สมมาตรกัน ในบางชิ้นงานผู้ออกแบบมีความต้องการที่จะตัดเนื้อวัตถุออก โดยการใช้คำสั่งพิเศษในการหมุนตัดวัตถุ เพื่อให้ได้ส่วนตัดที่มีลักษณะสมมาตรเช่นเดียวกันกับชิ้นงาน หรือกระทั่งการใช้คำสั่งเพื่อสร้างชิ้นงานที่ลักษณะเฉพาะตัว โดยใช้คำสั่งการหมุนและการกวาดนั่นเอง
- การสร้าง Profile เพื่อสร้างชิ้นงาน
- การสร้างชิ้นงานโดยการใช้คำสั่ง Revolve Boss/Base
- การตัดชิ้นงานด้วยการกวาด โดยใช้คำสั่ง Revolve Cut
- การสร้างสปริงโดยคำสั่ง Helix
- การเพิ่มเนื้องานให้สปริงด้วยคำสั่ง Swept Boss/Base
- การประยุกต์คำสั่งเพื่อสร้างชิ้นงาน
บทที่ 12 การสร้างชิ้นงานโดยการลบมุม Fillet
ในการออกแบบและเขียนแบบด้วยโปรแกรม SolidWorks นั้น ทางผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้คำสั่งในการสร้างชิ้นงานเดียวกันโดยอาจจะใช้คำสั่งที่ไม่เหมือนกันกับผู้ออกแบบอีกท่านหนึ่งได้ ในบางกรณีการออกแบบด้วยการลบมุมของชิ้นงานก็สามารถทำได้ ซึ่งจะทำให้ได้ชิ้นงานที่มีความสมบูรณ์มากกว่าการใช้คำสั่งอื่น และการลบมุมเพื่อสร้างชิ้นงานนั้นยังเป็นการเสริมสร้างทักษะสำหรับงานที่มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น ในการออกแบบชิ้นงานอื่นๆ อีกด้วย
- การสร้างชิ้นส่วนหลัก Base
- การลบขอบมุม โดยคำสั่ง Fillet
- การ Fillet ด้วยค่ารัศมีที่แตกต่างกัน
- การสร้าง Pin Connector
- การสร้างรูยึดด้านข้าง
- การสร้าง The Pin Mini DIN Connector
- การเจาะรูทำ Pin Holes
บทที่ 13 การจับคู่เพื่อการประกอบชิ้นงาน
หลักการที่ใช้ในการจับคู่ชิ้นงานเข้าด้วยกัน เป็นหลักการที่มีความสำคัญมาก ซึ่งผลของการจับคู่ประกอบชิ้นงานย่อยนั้น จะส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำงานของชิ้นงานประกอบ รวมไปถึงการวิเคราะห์ผลของการออกแบบในรูปแบบต่างๆ ด้วย
- การนำ Parts มาประกอบกันในงาน Assembly
- การประกอบสลักยึดชิ้นงาน
- การจับคู่แบบอัตโนมัติ
- การตรวจสอบความสัมพันธ์
- การแยก (Explode) และรวม (Collapse) ชิ้นงานประกอบ
- การแก้ไข Exploded View
บทที่ 14 การสร้างงานโลหะแผ่น Sheet Metal
ในงานอุตสาหกรรมที่เป็นงานโลหะแผ่น อย่างเช่น CASE ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ กระโปรงรถยนต์ หรือแม้กระทั่งงานง่ายๆ อย่างเช่นกล่องรับจดหมาย ทั้งหลายนี้ก็จะมีการออกแบบและเขียนแบบเพื่อให้สามารถนำแผ่นโลหะไปทำการพับขึ้นรูป หรือดำเนินการผลิตในรูปแบบต่างๆ กัน แต่เนื่องด้วยการเขียนแบบคลี่นั้น มีความยุ่งยากสำหรับนักออกแบบ โปรแกรม SolidWorks จึงได้มีการสร้างคำสั่งเพื่อใช้สำหรับการออกแบบชิ้นงาน ที่ผลิตจากโลหะแผ่น ซึ่งสามารถออกแบบชิ้นงานได้อย่างง่ายดายในระยะเวลาอันสั้น
- การยืดแบบแผ่นบาง
- การสร้างแผ่นพับ
- การสร้างแผ่นคลี่
- การตัดผ่านรอยพับ
- การพับขอบชิ้นงาน
- เรียนรู้การออกแบบและการใช้คำสั่งสร้างงาน Sheet Metal
บทที่ 15 การเขียนแบบโครงสร้างและงานเชื่อม Weldments
การออกแบบงานโครงสร้างและงานเชื่อมเป็นอีกชิ้นงานหนึ่ง ที่เรียกได้ว่ามีความซับซ้อนในการออกแบบและเขียนแบบ เพื่อจะสื่อสารให้กับผู้ที่นำแบบเขียนนั้นไปใช้งานหรือนำไปผลิตชิ้นงาน สำหรับโปรแกรม SolidWorks แล้ว การออกแบบงานโครงสร้างหรืองานเชื่อมจะมีคำสั่งพิเศษไว้ให้นักออกแบบทั้งหลายสามารถเลือกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การสร้างเส้น Path ของชิ้นงาน
- การสร้างงานด้วยการ Insert ชิ้นส่วนงานตาม Path
- การปิดวัตถุที่ปลายเปิด
- การตัดและการยืดวัตถุ
- การสร้างแผ่นงานยึดชิ้นส่วนงาน
- การเขียนแบบแนวเชื่อม
- ทบทวนคำสั่งและการออกแบบงาน Weldments เพื่อนำไปใช้งานจริง
บทที่ 16 การสร้างงานแบบผนังบางและแผ่นครีบ
ชิ้นงานบางประเภทจะมีรายละเอียดของรูปทรงชิ้นงานค่อนข้างมากและซับซ้อนเกินกว่าจะสามารถใช้คำสั่งพื้นฐานในการออกแบบและเขียนแบบขึ้นมาได้ คำสั่งพิเศษในการสร้างชิ้นงานที่มีความซับซ้อนเหล่านี้ จะสามารถทำให้นักออกแบบมีความรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องง่ายไปในทันที
- การสร้างชิ้นงานใหม่โดยใช้คำสั่ง Sketch
- การยืดชิ้นงานและลบมุม
- การทำชิ้นงานให้เป็นผนังบางและทำครีบชิ้นงาน
- การทำครีบชิ้นงาน
- การเจาะช่องและรูตัดชิ้นงาน
- การสร้างแป้นและรูเจาะสำหรับยึดสกรู
- การประยุกต์คำสั่งเพื่อนำไปสร้างชิ้นงาน
บทที่ 17 การประยุกต์คำสั่งเพื่อสร้างชิ้นงานที่ซับซ้อน
คำสั่งพื้นฐานต่างๆ ในโปรแกรม SolidWorks สามารถสร้างชิ้นงานขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง สำหรับชิ้นงานที่มีรายละเอียดมากขึ้น มีรูปทรงที่ซับซ้อนมากขึ้น ก็จะสามารถใช้คำสั่งช่วยในการออกแบบที่พิเศษ และเหมาะสมกับการออกแบบชิ้นงานเหล่านั้น แต่ชิ้นงานบางประเภทผู้ออกแบบก็สามารถประยุกต์ใช้คำสั่งพื้นฐานในการออกแบบ เพื่อออกแบบชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้เหมือนกัน โดยผู้ออกแบบต้องเข้าใจหลักการทำงานของคำสั่งนั้นๆ เป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้คำสั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การสร้างบานพับมาตรฐาน
- การเจาะรูสำหรับยึดสกรู
- การตัดช่องของบานพับ
- การตัดช่องบานพับแบบใหม่
- การสร้าง Part Configuration
- การจับคู่ Part ในงานประกอบ Assembly
- การสร้าง Part ใหม่ในงานประกอบ Assembly
- การแก้ไขขนาดของชิ้นงาน
- การสร้างชิ้นงานที่มีความซับซ้อนโดยการประยุกต์คำสั่ง
บทที่ 18 การออกแบบโดยการใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน
นักออกแบบอาจจะพบปัญหาในกรณีชิ้นงานย่อยมีจำนวนมาก อย่างเช่น เครื่องจักร มีการใช้สกรูและน็อตเป็นจำนวนมาก ทำให้การเขียนแบบสกรูและน็อตนั้นเป็นการเพิ่มระยะเวลาในการออกแบบ ดังนั้นโปรแกรม SolidWorks จึงได้มีการสร้างชิ้นงานมาตรฐานไว้ เพื่อรองรับกับการออกแบบที่ต้องการชิ้นงานมาตรฐานเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ออกแบบสามารถเรียกได้จาก Library ของโปรแกรม อีกทั้งผู้ออกแบบยังสามารถสร้างชิ้นงานมาตรฐานเก็บไว้ เพื่อนำมาใช้งานได้อีกด้วย
- การสร้างชิ้นงาน Part และเจาะรูเพื่อทำสำเนาเชิงเส้น Linear Pattern
- การกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพของชิ้นงาน
- การประกอบชิ้นงาน
- การใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานช่วยในการออกแบบ
- การใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานช่วยในการออกแบบแบบอัตโนมัติ
บทที่ 19 การออกแบบชิ้นงานและ Molds
ในงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ต่างๆ การออกแบบและสร้าง Molds ขึ้นมานั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน อีกทั้งยังเป็นเรื่องยากในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้งานของ Molds ที่ออกแบบขึ้นมา โปรแกรม SolidWorks เองก็มีชุดคำสั่งพิเศษที่สามารถออกแบบและเขียนแบบ Molds ขึ้นมา แล้วยังสามารถหาประสิทธิภาพในการทำงานของ Molds ที่ออกแบบมาได้อย่างชัดเจน สามารถหาจุดบกพร่องของชิ้นงานที่ออกแบบได้ ก่อนนำแบบไปสร้างชิ้นงานจริง
- การออกแบบชิ้นงานต้นแบบ
- การคัดลอกชิ้นงาน
- การสร้าง Parting Lines และ Planar Surface ให้กับชิ้นงาน
- การสร้าง Mold จากชิ้นงานที่ออกแบบ
บทที่ 20 การวิเคราะห์คุณสมบัติของชิ้นงานและการนำเสนอชิ้นงาน
ก่อนที่ชิ้นงานจะถูกนำไปสร้างเป็นชิ้นงานจริงขึ้นมา โปรแกรม SolidWorks จะมีคำสั่งในการวิเคราะห์ชิ้นงาน เพื่อให้ผู้ออกแบบสามารถประเมินและหาจุดบกพร่องของชิ้นงานนั้นๆ ได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างเป็นพรีเซนเทชันเพื่อนำเสนองานกับผู้บริหารและพนักงานฝ่ายผลิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการออกแบบร่วมกัน จะทำให้การทำงานมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
- การวิเคราะห์คุณสมบัติด้วยคำสั่ง COSMOSXpress
- การวิเคราะห์สภาวะของชิ้นงานด้วยคำสั่ง MoldflowXpress
- การสร้างภาพ eDrawings
- การใช้งาน PhotoWorks
บทที่ 21 งานประกอบและการประยุกต์เพื่อใช้งาน
ชิ้นงานที่ถูกสร้างและออกแบบ รวมทั้งการนำมาประกอบกันเป็นชิ้นงานที่สำเร็จรูป อย่างเช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ นอกจากการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชิ้นงานย่อยแต่ละชิ้นงานแล้ว เมื่อนำมาประกอบกันเป็นชิ้นงานใหญ่แล้ว ยังสามารถวิเคราะห์หาประสิทธิผลของการประกอบชิ้นงานนั้นๆ ได้ โดยการใช้คำสั่งพิเศษสั่งให้ชิ้นงานเหล่านั้นเคลื่อนที่เพื่อวิเคราะห์หาจุดบกพร่องในการออกแบบได้อีกด้วย
- การสร้างภาพประกอบจากชิ้นงาน
- การคำนวณหาคุณสมบัติทางกายภาพของชิ้นงาน
- การเปลี่ยนพื้นผิว สีของชิ้นงานและสร้างความโปร่งใส
- การสร้างความโปร่งใสให้กับชิ้นงาน
- การจำลองการเคลื่อนที่ของงานประกอบ
- การประยุกต์คำสั่งในการจำลองการเคลื่อนที่ของชิ้นงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น