รับปริญญาเพื่อน

ชาติของผู้เยี่ยมชมบล็อก

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เป็นวิศวกรมืออาชีพ..เป็นอย่างไง ?


เป็นวิศวกรมืออาชีพ..เป็นอย่างไง ?


          วันเสาร์ที่ผ่านมา ผมไปเป็นวิทยากร หลักสูตร “How to Work Like a Pro” ให้บริษัทก่อสร้างสัญชาติญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง  มีลูกศิษย์ 30 คน เป็นวิศวกรผู้ชาย 28  คน อีก 2 คนเป็นผู้หญิงทำงานด้านอื่น

          ช่วงเช้าผู้บริหารชาวญี่ปุ่น มากล่าวเปิดการอบรม และร่วมสังเกตการณ์ด้วย

 

ท่านบอกผู้เข้าอบรมว่าอยากให้ทุกคน Work like a Pro ทำงานเป็นมืออาชีพมากขึ้น  อยากเห็นความเป็นผู้นำของทุกคน  มากกว่าเดิม ผลงานปีนี้เป็นไปตามเป้าหมาย  และก็หวังว่าปีหน้าซึ่งเป็นปีที่ tough หรือ ยากลำบากกว่าเดิม ทุกคนคงจะช่วยกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายเหมือนในปีนี้


ตอนหนึ่ง ผู้บริหารบอกว่า ผู้เข้าอบรมรุ่นนี้ได้รับการคัดเลือก (selected)  มาเข้าอบรม เพราะองค์กรมองว่าเป็นผู้ที่มีศักยภาพพัฒนาได้

 และกล่าวต่อไปว่า บริษัทยินดีลงทุนจัดอบรมสัมมนาเพื่อให้ทุกคนเก่งขึ้น เป็นมืออาชีพ แต่ผู้บริหารก็คาดหวังผลลัพธ์ (Result) นั่นคือเมื่อฝึกอบรมไปแล้วต้องนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงหัฒนาการทำงานของตัวเองให้ดีขึ้น ต้องการให้เกิดผล หรือปฏิกริยาจากการฝึกอบรม (Reaction)

ในแง่ผู้บริหารก็ได้ Action แล้วด้วยการจัดฝึกอบรมพัฒนาให้ หน้าที่ของผู้เข้าอบรมก็คือ ต้อง Reaction ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีด้วย   

ครั้งนี้ผมดีใจและสนุกมากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิศกร ซึ่งถือว่าเป็นคนเก่ง ความรู้และประสบการณ์ดีแต่ละคนมีประสบการณ์ทำงานมาในวงการก่อสร้างกันมาพอสมควร
 
*

ผมให้ทุกคนยึดหลักการทำงานอย่างมืออาชีพ แบบ อีดาว หรือ E-STAR ซึ่งประกอบด้วย

Ethics ต้องทำงานอย่างมีจรรยาบรรณ โปร่งใส และยุติธรรมกับทุกฝ่าย 

Self-leadership & management  มีภาวะผู้นำและจัดการงานด้วยตัวเองได้ไม่ต้องรอคำสั่ง 

Teamwork  ทำงานป็นทีม ช่วยกันคิดช่วยกันทำ แบ่งปันความรู้ซึ่งกันละกัน

Attitude & ability มีทัศนคติที่ดีและสามารถในการทำงานของตน และสุดท้ายคือ

Result ต้องมีผลงานตามที่ตกลงกัน มืออาชีพวัดกันที่ผลงาน  

ผมย้ำว่าทุกองค์กรต้องการคนที่มีผลงาน หรือ deliver ผลงานออกมาได้ ไม่ใช่เก่งแต่คิด  คิดแล้วทำไม่ได้ก้ไม่ใช่มืออาชีพ 

ผมได้พูดถึง ALIVE หนังที่สร้างจากเรื่องจริง ให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นว่าคนอย่าง นันโด้ที่คิดเชิงบวก และลงมือทำอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน จริงจังมุ่งมั่น  ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค  สามารถเอาชีวิตรอดมาได้ราวกับปาฏิหาริย์จากเหตุการณืเครื่องบนตกบนเทือกเขาแอนดิส

รวมทั้งตัวอย่างของคุณอดุลย์ ดุลยรัตน์ ที่มีความเป็นมืออาชีพ รับแสดงบทท่านครู สอนตีระนาด ในภาพยนตร์เรื่องโ หมโรง  ทั้งที่ ๆ ในชีวิตเขาไม่เคยตีระนาดมาก่อน  แต่เมื่อรับงานมาแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบ และแสดงความเป็นมืออาชีพออกมาให้เห็น ทำงานได้ตามที่รับปากไว้  จนได้รับตุ๊กตาทองในที่สุด


จากนั้นผมได้เพิ่มเติมเนื้อหาเรื่องการสื่อสาร  เพราะส่วนมากวิศวกรเป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถในเชิงเทคนิคอยู่แล้ว  ผมเพียงแต่เสริมให้เห็นว่าความเก่งอย่างเดียวช่วยให้เป็นมืออาชีพไม่ได้ถ้าพูดจาสื่อสารแล้วคนอื่นหรือคนที่ทำงานด้วยไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง
*
 

อีกทั้งต้องการชี้ให้เห็นว่า คนเก่งหลาย ๆ คนมักจะเชื่อในความคิดของตัวเอง ยึดติดกับความคิดเดิม ยึดตามประสบการณ์ของตน  จนไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของคนอื่น


เรื่องของการสื่อสารนี้ ผมได้ให้ลูกศิษย์ทำแบบฝึกหัดแก้โจทย์ปัญหาเป็นทีม แบ่งเป็น 5 ทีม ด้วยความอยากรู้ว่าวิศวกรจะมีวิธีคิด และวิธีการสื่อสารให้ผู้ฟังเข้าใจและยอมรับได้ดีขนาดไหน  ผลที่ออกมา คือทุกทีมสามารถหาคำตอบออกมาได้เหมือนกัน เพราะแน่นอนวิศวกรเหมือนกันย่อมคิดเหมือนกัน

แต่ถึงแม้คำตอบออกมาเหมือนกัน ก็ใช่ว่าจะทำสื่อสารให้คนอื่นเชื่อ หรือยอมรับได้ 100 %  

ความสามารถในการสื่อสารเรื่องเดียวกัน คำตอบเดียวกัน ของตัวแทนแต่ละทีม ออกมาไม่เหมือนกัน บางคนสื่อสารแล้วคนอื่นเชื่อและยอมรับ ได้คะแนนสูงถึง 80 %

   

บางคนนำเสนอแล้วเพื่อน ๆ งง  ไม่ประทับใจ ได้รับคะแนนโหวต 50 – 60 % ทั้ง ๆ ที่เป็นวิศวกรที่เก่งหรือทำงานได้เหมือนกัน  นี่แหละครับทักษะการสื่อสารที่มืออาชีพทุกคนต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ผมสรุปว่าคำตอบอาจมีได้มากกว่า 1 คำตอบ เพราะคนเราแต่ละคนเป็นมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน หัวใจสำคัญของการสื่อสารก็คือ ทำความเข้าใจผู้รับสาร (Receiver) ให้แน่ใจก่อนว่า เขามีวีคิดอย่างไร มีสไตล์การสื่อสารแบบไหน แล้วผูสื่อสาร (Sender) เราจึงค่อยสื่อสาร  แล้วเขาก็จะเข้าใจและยอมรับสิ่งที่เราสื่อแน่นอน

ไม่ใช่สื่อสารในสิ่งที่เราคิดว่าถุกว่าใช่ โดยลืมนึกถึงพื้นฐานความคิดและจิตใจของผู้รับสาร

หลังจากนั้นผมได้สอนเรื่องปัญหาการสื่อสาร ที่เกิดจากสไตล์การสื่อสารของผู้สื่อ และผู้รับที่แตกต่างกัน เราจึงควรปรับสไตล์การสื่อสารของเราให้เหมาะสมกับผู้รับแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่ม  บางครั้งเราก็ต้องใช้สไตล์การสื่อสารที่หลากหลาย ผสมผสานกันไป เนื่องจากกลุ่มผู้ฟังเองก็มีสไตล์ที่ต่างกัน 
 

กิจกรรมสุดท้ายก่อนจากกันผมได้ให้แต่ละทีม  เล่นเกม จราจรอัจฉริยะ แข่งขันกันเป็นทีม เพื่อชี้ให้เห็นว่า ผลงานที่ดี จะเกิดจากการทำงานเป็นทีมที่ดีเท่านั้น  ตัวชี้วัดความสามารถในการทำงานเป็นทีม ดูได้จากผลลัพธ์

 

ผมให้แข่งขันเกมจราจรอัจฉริยะ 2 รอบ ๆ แรก ส่วนใหญ่ทุกทีมจะใช้เวลาเกินเป้าหมายที่กำหนดให้ มีบางทีมที่ทำได้ตามเวลา แต่เป็นการทำงานแบบฟลุ้ค ๆ  ไม่ได้เกิดจากความสามารถ เพราะถ้าให้ทำใหม่ก็ไม่แน่ใจว่าจะทำได้ดีเหมือนเดิมหรือไม่


วันนั้นทีมชนะเลิศในรอบที่สอง สามารถทำงานเสร็จได้ตามเป้าหมายภายเวลาเพียง 38 วินาที ทั้ง ๆ ที่ในรอบแรกใช้เวลามากกว่า 300  วินาทีด้วยซ้ำ    ทำงานเป็นทีมได้ดีกว่าทีมอื่น ๆ จึงได้รับรางวัลเป็นเงินสดไปแบ่งกัน

ผมก็หวังว่าลูกศิษย์รุ่นนี้  จะทำงานเป็นมืออาชีพแบบ E-STAR   

คิดและมองเชิงบวกมากขึ้น  เตรียมพร้อมและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา 

เข้าใจบทบาทของตัวเองในฐานะลูกจ้างมืออาชีพ เข้าใจองค์กร เข้าใจธุรกิจ 

         ถ้าองค์กรอยู่ไม่ได้ เราก็อยู่ไม่ได้  ฉะนั้นทุกคนจึงต้องร่วมมือกัน  ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ทำงานเป็นทีม  แล้วเราทุกคนก็จะรอดครับ 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น